DEV Community

Cover image for Vue 3.0 มีอะไรเปลี่ยนแปลง/มีอะไรใหม่บ้าง?
Ta for tamemo

Posted on • Originally published at centrilliontech.co.th

Vue 3.0 มีอะไรเปลี่ยนแปลง/มีอะไรใหม่บ้าง?

เขียนใหม่ด้วย TypeScript

ภาษา JavaScript นั้นไม่มี Type ของตัวแปรทำให้เวลาเขียนโปรแกรมมีโอกาสเกิดข้อผิลพลาดเยอะ ดังนั้นการเขียนงานโปรเจคใหญ่ๆ คนเลยนิยมเปลี่ยนไปใช้ TypeScript แทน (ถ้ายังไม่รู้จัก TypeScript อ่านต่อได้ที่นี่)

สำหรับ Vue 3.0 นี้ก็เป็นการเขียนใหม่ด้วย TypeScript แทน แต่เวลาเราเอามาใช้งาน เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบ JavaScript ตามปกติ หรือจะใช้แบบ TypeScript ก็ได้

interface Book {
  title: string
  author: string
  year: number
}

const Component = defineComponent({
  data() {
    return {
      book: {
        title: 'Vue 3 Guide',
        author: 'Vue Team',
        year: 2020
      } as Book
    }
  }
})

Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

อ่านเรื่อง TypeScript ต่อได้ที่นี่

JSX

เป็นฟีเจอร์ที่เอามาจาก React นั้นคือแทนที่จะใช้ Hyperscript แบบนี้

Vue.h(
  Vue.resolveComponent('anchored-heading'),
  {
    level: 1
  },
  [Vue.h('span', 'Hello'), ' world!']
)
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

Vue.h ย่อมาจาก Hyperscript ซึ่งหมายถึง script ที่เอาไว้สร้าง HTML structures นั่นเอง

การเขียน JSX ได้จะทำให้เราเขียน HTML ลงไปในโค้ด JavaScript ตรงๆ ได้เลย

import AnchoredHeading from './AnchoredHeading.vue'

const app = createApp({
  render() {
    return (
      <AnchoredHeading level={1}>
        <span>Hello</span> world!
      </AnchoredHeading>
    )
  }
})

app.mount('#demo')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

อ่านเรื่อง JSX ต่อได้ที่นี่

API ที่เปลี่ยนไปใน Vue 3

ในหัวข้อนี้ขอยกตัวอย่างโค้ดข้างล่างนี่ ซึ่งรันได้ปกติใน Vue 2

<div id="app">
    <h1>{{ title }}</h1>
    <my-button @whenclick="changeTitleText"></my-button>
</div>

<script src="https://unpkg.com/vue@2.6.12"></script>
<script>
Vue.component('my-button', {
    template: `
        <button @click="handleClick">Click Me!</button>
    `,
    methods: {
        handleClick(){
            this.$emit('whenclick')
        }
    },
})

let app = new Vue({
    el: '#app',
    data: {
        title: 'นี่คือ Title แบบ Vue 2',
    },
    methods: {
        changeTitleText(){
            this.title = 'โค้ดนี้ทำงานได้ใน Vue 2'
        }
    },
})
</script>
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

ในตัวอย่างนี้มีการสร้าง component ชื่อ my-button ขึ้นมาหนึ่งตัว แล้วตั้งค่าไว้ว่าถ้ามีการคลิก ให้เปลี่ยนข้อความ title ซะ

ทีนี้ ถ้าเราเปลี่ยนไปใช้ Vue 3 ตัวนี้แทน https://unpkg.com/vue@3.0.0 เราจะพบว่าโค้ดของเรารันไม่ได้ไปซะแล้ว

สาเหตุก็เพราะว่า API การเรียกใช้งานมีการเปลี่ยนแปลง

วิธี createApp

จากเดิมใน Vue 2 ถ้าเราจะสร้าง Application ขึ้นมา ก็จะใช้วิธีการ new Vue ขึ้นมาตรงๆ เลย

const app = new Vue({
    el: '#app',
    //TODO
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

แต่สำหรับ Vue 3 จะเปลี่ยนไปใช้คำสั่ง createApp แทน (ไม่สามารถสร้างเองได้แล้ว ต้องสร้างผ่าน factory function ที่ Vue เตรียมไว้ให้เท่านั้น)

const app = Vue.createApp({
    //TODO
})

app.mount('#app')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

หรือ

import { createApp } from 'vue'

const app = createApp({
    //TODO
})

app.mount('#app')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

อีกเรื่องหนึ่งคือการ mount แอพเข้ากับ html โดยใช้ el นั้นโดนตัดออกไปแล้ว

ไปใช้วิธีการ mount ด้วยเมธอด .mount() หลังจากสร้างแอพไปแล้วแทน ซึ่งเป็นการแยกส่วนโลจิคออกจากการกำหนดส่วนแสดงผล (HTML) ออกจากกัน ทำให้ตอนนี้เราสามารถสร้างแอพเปล่าๆ โดยยังไม่ต้อง mount ได้แล้ว ถ้าอยากเอาไปทำเทสเพิ่มก็ทำได้ง่ายขึ้น

data ต้องเป็น method เท่านั้น

ปกติ data ของ Vue 2 นั้นสามารถกำหนดเป็น object หรือ function ที่รีเทิร์น object กลับมาแบบไหนก็ได้

new Vue({
    data: {
        title: 'นี่คือ Title แบบ Vue 2',
    },
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

แต่สำหรับ Vue 3 ถูกกำหนดว่า data จะต้องเป็น function เท่านั้น

Vue.createApp({
    data(){
        return {
            title: 'นี่คือ Title แบบ Vue 2',
        }
    },
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

Component ผูกกับ app

ใน Vue 2 เวลาเราสร้างคอมโพเนนท์ เราจะสั่งผ่านตัวแปร Vue ที่เป็นระดับ global แปลว่าคอมโพเนนท์นี้สามารถเรียกใช้จาก Application ของ Vue ตัวไหนก็ได้

Vue.component('my-button', {
    template: `
        <button @click="handleClick">Click Me!</button>
    `,
    methods: {
        handleClick(){
            this.$emit('whenclick')
        }
    },
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

แต่สำหรับ Vue 3 แล้วการจะสร้างคอมโพเนนท์จะต้องสร้างให้แอพตัวใดตัวหนึ่งไปเลย

const app = Vue.createApp({
    //TODO
})

app.component('my-button', {
    emits: ['whenclick'], //optional
    template: `
        <button @click="handleClick">Click Me!</button>
    `,
    methods: {
        handleClick(){
            this.$emit('whenclick')
        }
    },
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

emits เป็น properties ที่จะกำหนด หรือไม่กำหนดก็ได้ หน้าที่ของมันคือเอาไว้เก็บชื่อเมธอดทั้งหมดที่คอมฑโพเนนท์ตัวนี้ทำได้ (มันก็คือ $emit อะไรได้บ้างนั่นแหละ) แต่การใส่ใน emits นั้นจะทำให้เวลาเรามาอ่านว่าคอมโพเนนท์ตัวนี้มีอะไรให้เรียกใช้ได้บ้างก็จะดูจากตรงนี้ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปไล่โค้ดข้างในอีกที

Vue Router ต้องสร้างด้วย createRouter()

เร้าเตอร์ก็เป็นอีกตัวที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการเขียน

import Vue from 'vue'
import VueRouter from 'vue-router'

import App from './App.vue'
import FirstPage from './pages/FirstPage.vue'
import Page from './pages/FirstPage.vue'

Vue.use(VueRouter)

new Vue({
    render: (h) => h(App),
    router: new VueRouter({
        mode: 'history',
        routers: [
            { path: '/', component: FirstPage },
            { path: '/second', component: SecondPage },
        ],
    }),
}).$mount('#app')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

โดยการสร้าง router จะต้องสร้างแยกตั้งหากด้วยคำสั่ง createRouter()

รวมถึงโหมด history ที่ตอนแรกเป็นค่าคอนฟิก, ใน Vue 3 ก็แยกออกมาเป็น createWebHistory() แล้วเหมือนกัน

import {createApp} from 'vue'
import {createRouter, createWebHistory} from 'vue-router'

import App from './App.vue'
import FirstPage from './pages/FirstPage.vue'
import Page from './pages/FirstPage.vue'

const router = createRouter({
    history: createWebHistory(),
    routers: [
        { path: '/', component: FirstPage },
        { path: '/second', component: SecondPage },
    ],
})

const app = createApp(App)
app.use(router)

router.isReady().then(() => {
    app.mount('#app')
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

Vuex ต้องสร้าง store ด้วย createStore()

คล้ายๆ กับข้อเมื่อกี้คือถ้าในโค้ดเรามีการใช้ Vuex การจะสร้าง store ขึ้นมาแทนที่จะ new Vuex.Store ตรงๆ ก็จะเปลี่ยนไปสร้างผ่าน createStore() แทน

import Vue from 'vue'
import Vuex from 'vuex'

import App from './App.vue'

const store = new Vuex.Store({
    //...
})

new Vue({
    store: store,
    render: (h) => h(App),
}).$mount('#app')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

แบบนี้

import {createApp} from 'vue'
import {createStore} from 'vuex'

import App from './App.vue'

const store = createStore({
    //...
})

const app = createApp(App)
app.use(store)
app.mount('#app')
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

พวกค่าต่างๆ ของ store เช่น state, mutations, getters, actions ก็เซ็ตเหมือนเดิมทุกอย่าง ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

...

โดยรวมแล้ว Vue 3 มีการเปลี่ยน API ให้แยกส่วนกันมากขึ้น ทำให้โครงสร้างโค้ดถูกแบ่งเป็นโมดูลๆ จัดการและเทสง่ายขึ้น

Fragment

สำหรับใช้ที่เคยใช้ React มาก่อน Fragment ใน Vue ก็ใช้คอนเซ็ปเดียวกันนั่นแหละ

ตามปกติแล้วเวลาเราสร้าง template จำเป็นจะต้องมี root element 1 ตัวครอบทุกอย่างเอาไว้ ซึ่งหลายๆ ครั้งมันก็ไม่สะดวกเอาซะเลย

<!-- Layout.vue -->
<template>
  <div>
    <header>...</header>
    <main>...</main>
    <footer>...</footer>
  </div>
</template>
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

สำหรับ Vue 3 นั้นอนุญาตให้เราสร้าง root element หลายตัวใน template ได้แล้ว

<!-- Layout.vue -->
<template>
  <header>...</header>
  <main v-bind="$attrs">...</main>
  <footer>...</footer>
</template>
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

Teleport Component

teleport เป็นฟีเจอร์ที่ทำให้คอมโพเนนท์บางส่วนที่เราสร้างขึ้นมาใน Application สามารถ "เทเลฟอร์ท" หรือ "วาร์ป" ออกไปข้างนอกได้!

ตัวอย่างที่เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็น Modal หรือการที่มีกล่องเหรือเฟรมอะไรสักอย่างเด้งขึ้นมาซ้อนทับ content ของเราเป็นอีกเลเยอร์หนึ่ง

สำหรับ Vue เวอร์ชันก่อนๆ ที่ต้องเขียนทุกอย่างอยู่ในขอบเขตของ Application เท่านั้น

ถ้าเราจะสร้าง Modal ขึ้นมาก็จะต้องสร้างไว้ข้างในแอพนั้นแหละ

แต่สำหรับ Vue 3 เราสามารถกำหนดสิ่งที่เรียกว่า teleport เพื่อบอกว่าโค้ดตรงนี้นะ เราจะส่งมันออกไปแสดงผลข้างนอกแอพ!

จากเดิมเป็นโค้ดแบบนี้

const app = Vue.createApp({});

app.component('modal-button', {
  template: `
    <button @click="modalOpen = true">
        Open full screen modal!
    </button>

    <div v-if="modalOpen" class="modal">
      <div>
        I'm a modal! 
        <button @click="modalOpen = false">
          Close
        </button>
      </div>
    </div>
  `,
  data() {
    return { 
      modalOpen: false
    }
  }
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode

ให้เราเพิ่ม <teleport to="body"> ลงไปครอบคอมโพเนนท์ส่วนที่ต้องการส่งออกไปข้างนอก (เช่นเคสนี้ส่งไปแสดงผลที่ชั้น body)

app.component('modal-button', {
  template: `
    <button @click="modalOpen = true">
        Open full screen modal! (With teleport!)
    </button>

    <teleport to="body">
      <div v-if="modalOpen" class="modal">
        <div>
          I'm a teleported modal! 
          (My parent is "body")
          <button @click="modalOpen = false">
            Close
          </button>
        </div>
      </div>
    </teleport>
  `,
  data() {
    return { 
      modalOpen: false
    }
  }
})
Enter fullscreen mode Exit fullscreen mode


จริงๆ ยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่ Vue 3 มีการเพิ่มฝเปลี่ยนแปลง แต่อันนี้เลือกมาเฉพาะๆ ตัวที่คิดว่าสำคัญ

ป.ล. Vue 3 นั้นออกเวอร์ชัน 3.0.0 เรียบร้อยแล้ว แต่เฟรมเวิร์คหลัๆ บางตัวก็ยังไม่เสร็จดี เช่น router หรือ Vuex และสำหรับการติดตั้งจะต้องใช้ npm i vue@next หากต้องการจะใช้เวอร์ชัน 3 (ถ้าใช้ npm i vue จะได้เวอร์ชัน 2) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงให้ vue 3 เป็นตัวหลักแทนน่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นปี 2020 นี้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Release Note นะ

Top comments (0)