เกริ่นไปเรื่อย
การเขียนโปรแกรมติดต่อฐานข้อมูลด้วยภาษา Java ส่วนใหญ่พื้นฐานเราจะใช้ JDBC ในการติดต่อ นอกจาก JDBC แล้วบางคนก็อาจจะใช้ Framework หรือ API ประเภท ORM (Object Relation Mapping) ถึงตรงนี้แล้วบางคนอาจสงสัยว่า ORM คืออะไร เอาง่ายๆ เลยนะคับ ORM คือเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถมองฐานข้อมูลเป็น Object ถ้าเราแก้ไขข้อมูลใน Object ก็จะท าให้ข้อมูลในฐานข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เหมือนกับการใช้ SQL Command ตรงๆ
ยกตัวอย่างเช่น เรามีตารางฐานข้อมูล เก็บข้อมูลลูกค้าตามรูปข้างล่าง(1) หากเรามองเป็น Object เรามักจะเขียน Code (2) ประมาณนี้
ซึ่งถ้าเป็น ORM เราสามารถสร้าง Record ใหม่ด้วยการ New Instance ของ Object Employee และสั่งให้ Framework หรือ API ทำการสร้าง Record ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเขียน Statement Insert เหมือนใน JDBC ที่พูดมายืดยาวก็เพื่อให้พอเห็นภาพของ ORM โดยเจ้าตัว ORM นี้ใน Java ก็มีด้วยกันหลายตัวเช่น Hibernate , JPA (Java Persistence API) , … etc.
สำหรับในวันนี้จะขอพูดถือตัว JPA
JPA ย่อมาจาก Java Persistence API เป็น API มาตรฐานตัวหนึ่งที่อยู่ใน Technology Java EE ใช้สำหรับการทำ ORM วิธีการสร้างหรือการใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก โดยขอแบ่งเป็นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
- ทำการสร้าง Object เพื่อ Mapping ตารางหรือ Field ต่างๆ ในฐานข้อมูล
- ทำการเขียน Configuration ไฟล์สำหรับการเชื่อมฐานข้อมูลในไฟล์ persistence.xml
- ใช้งาน Object ผ่านทาง Entity Manager
- ทำการสร้ำง Object เพื่อ Mapping ตารางหรือ Field ต่างๆ ในฐานข้อมูล ขั้นตอนการทำ Object Mapping คือการที่เราเอาทำการเขียน Object ให้มีความสัมพันธ์กับฐานข้อมูลโดยมีรายละเอียดดังนี้
@Entity
ใช้สำหรับกำหนด Class ที่จะ Map กับตารางในฐานข้อมูล
*กรณีไม่กำหนดชื่อตาราง ชื่อ Entity นั้นๆ จะหมายถึงชื่อตารางในฐานข้อมูล
@Table
ใช้สำหรับกำหนดชื่อตารางฐานข้อมูลที่ Map กับ Class ที่เราสร้าง
@id และ @GeneratedValue
ใช้สำหรับกำหนด Field ที่เป็น Primary Key กรณีที่เป็น id ประเภท Auto Generate จะใช้ @GeneratedValue
Top comments (2)
เยี่ยม
ขอบคุณครับผม