DEV Community

Wasith Theerapattrathamrong
Wasith Theerapattrathamrong

Posted on

เอาคอมใส่ตู้เย็นขณะทำงานช่วยระบายความร้อนได้ดีจริงหรอ ?

เอาคอมเข้าตู้เย็น

เป็นการทดลองเล็ก ๆ โดยการเอา MacBook Pro 16" Late 2016 (Intel Core i7-6920HQ @ 2.9 GHz (4 cores)) ไปเข้าตู้เย็นเพราะว่ามันร้อนชนสุดกำลังที่เครื่องจะรับไหว เพราะว่าผมเอาคอมทุกเครื่องที่มีเข้าโครงการ Folding@Home เพื่อช่วยประมวลผลเผื่อหาวิธีรักษาและป้องกัน COVID-19

พอผมรันไว้ที่โต๊ะทำงาน พันลมก็ดังมากเลยคิดเล่น ๆ ว่า ตู้เย็นมันเย็น มันจะช่วยให้คอมเราเย็นขึ้นได้ไหม ผมเลยทำการทดลองโดยการเอาแมคบุ๊คใส่ตู้เย็น โดยสายชาร์จก็ยังเสียบค้างไว้อยู่ โดยที่ไม่ได้เจาะตู้เย็นแต่สายชาร์จวางพาดยางหุ้มประตูออกมาเลย

คอมในตู้เย็น

การทดลอง

สำหรับการทดลอง เราใช้ MacBook เครื่องเดียวกัน กับ 2 ตู้เย็นที่แตกต่างกัน โดยกำการทดลองแบบละ 30 นาที โดยให้ทำงานทั้ง CPU และ GPU

สำหรับงานที่รันเฉพาะ CPU หรือ GPU ไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้

ตู้เย็นแบบธรรมดา

โดยลักษณะการทำงานของคู้เย็นชนิดนี้ จะทำงานก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิที่สูงกว่าที่กำหนด และหยุดทำงานหลังจากอุณภูมิตำกว่าที่กำหนด

ผลคือ ตู้เย็นระบายความร้อนไม่ทัน ในตู้ค่อนข้างร้อน และความร้อนคอมก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิด สิ่งที่เรียกว่า CPU throttling

CPU throttling

เป็นกระบวนการที่ตัว CPU เองจะลด clock speed หรือความเร็ว CPU ลง เพื่อให้ความร้อนลดลง เป็นการรักษา CPU ให้มีอายุนาน หรือป้องกันวงจรไหม้ โดยปกติจะรักษาให้ความร้อนไม่เกิน 100℃

ตู้เย็นแบบ inverter

เป็นตู้เย็นที่จะทำงานตลอดเวลา โดยจะปรับความแรงตามความต้องการระบายความร้อนออก เช่นร้อนมาก ก็จะทำงานเต็มกำลัง เย็นแล้ว ก็จะทำงานเบา ๆ ช้า ๆ

ผลการทดลองของตู้เย็นแบบ inverter คือ ตู้เย็นทำงานเสียงดังตลอดเวลา ในตู้เย็นกว่าอากาศข้างนอก แต่ไม่เย็นแบบตู้เย็นอีกแล้ว

ลองเอาใส่ช่องแข็ง

เนื่องจากเครื่อง MacBook อุณภูมิที่ทำงานได้อยู่ที่ 10-100℃ พออุณหภูมิของเครื่องต่ำมาก ๆ ก็ทำให้เครื่องดับไม่สามารถทำงานต่อได้

หลังเอาออกจากช่องแข็ง

เนื่องจากความเย็นที่ต่างกันมาก อาจทำให้มีไอน้ำมาเกาะเป็นหยดน้ำที่ตัวเครื่องหรือวงจรภายใน ควรเอาแช่ช่องธรรมดาต่อ โดยเปิดให้เครื่องทำงานด้วยเพราะจะได้สร้างความร้อนที่ตัวเครื่อง เพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องไม่ต่างกับอุณหภูมิภายนอกมาก เพื่อลดการกลั่นตัวจากไอน้ำเป็นน้ำแล้วมาเกาะที่ตัวเครื่อง ที่เกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันเกิดไปและมีความชื้นในอากาศ ซึ่งอาจทำให้เครื่องช็อตและพังได้

ตารางสรุป

ห้อง ตู้เย็นธรรมดา Inverter ช่องธรรมดา Inverter ช่องแข็ง
CPU's temperature (~℃) 98 98 95 65-75
GPU's temperature (~℃) 90 80 60-75 33-48
Fan speed (~rpm) ~4,000 ~4,000 4,000 1,200
PPD 40,000 38,000 50,000 52,000

Temperature และ fan speed ยิ่งต่ำยิ่งดี

PPD: Point per day (แต้มที่ได้จาก Folding@Home) ยิ่งมากยิ่งดี เพิ่มขึ้นจาก ~ 40,000 แต้มต่อวันเป็น 52,000 ต่อวัน

จะเห็นได้ว่าเอาเข้าตู้เย็นธรรมดา แย่กว่าไว้ในสภาพห้องเสียอีก ส่วนเอาเข้าช่องแข็งก็เครื่องจะดับได้ง่ายเพราะอุณภูมิที่ต่ำเกินไป

ปล. หลังจากเผยแพร่ออกไป จะมีความเห็นเรื่องความชื้นเยอะมาก แต่จะบอกว่าในตู้เย็นความชื้นน้อยมากครับ ในห้องผมวัดได้ 78% 28℃ แต่ในตู้เย็นวัดได้ 35% 2.8℃ ดูหลังจากใส่เครื่องวัดเข้าไปในตู้แล้วเป็นเวลา 60 นาที

ความชื้นในตู้เย็น

เพราะโดยส่วนใหญ่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศใช้พลังส่วนมากในการเอาความชื้นออกไปจากระบบ และส่วนหนึ่งทำให้ระบบเย็นขึ้น

ส่วนความชื้นที่มีในตู้เย็นนั้นมักจะเกิดจากการเปิดฝาตู้เย็น การเปิดตู้เย็นบ่อยเลยทำให้เปลืองไฟ

ส่วนห้องแอร์การปลูกต้นไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติในการคายน้ำ ส่งผลให้แอร์ต้องทำงานหนัก และตามมาด้วยค่าไฟที่สูงขึ้น

Latest comments (0)