DEV Community

code addict
code addict

Posted on

4 วิธีอัพเลเวลความเป็น Developer Part 1/2

เส้นแบ่งระดับของการเป็น Developer นั้นไม่ชัดเจน ถ้าหากถาม Senior , ผู้จัดการ , อะไรคือความแตกต่างในแต่ละระดับ Junior , mid-level , senior แต่ละคนก็อาจจะให้คำตอบแต่ละอย่างกัน

เนื่องจากความกว้างเกินไปของคำตอบ ดังนั้นไม่มีประโยชน์กับการมานั่งหาคำตอบ ว่าจะเป็น Senior ได้ยังไง

ดังนั้น แทนที่จะมาสนใจสิ่งเหล่านั้น มาให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ เพื่ออัพเลเวลกันดีกว่า

1. สร้างโปรเจคที่เป็นประโยชน์จับต้องได้

เครื่องคิดเลขจาก ReactJs , ฟังดูดีใช่ไหม แต่มันไม่เป็นประโยชน์ หรือ Todo list ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ อาจจะฟังดูสนุก แต่เอาเข้าจริงๆ โปรเจคพวกนี้ไม่ได้มีประโยชน์ หลายคนทำตามบทฝึกต่างๆ แต่เราจะต้องโฟกัสที่เรื่องอื่นๆ

ให้แตกต่างไปจากมุมมองเดิมๆ , วิธีการใช้งานแบบเดิมๆ หรือบางส่วนจากฟังก์ชั่นที่จะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของโปรแกรมเมอร์

ตัวอย่างโปรเจคที่เป็นประโยชน์

  • แอปหาคู่ให้น้องหมา
  • โซเชียลมีเดียสำหรับคนเล่นโปเกม่อน
  • โครงสร้างโปรเจค Backend หรือ Frontend ที่อาจไม่ต้องเสร็จสมบูรณ์ ที่ช่วยให้คนอื่น เข้าใจการสร้างโปรเจค

นี้เป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ แต่ประเด็น คือไม่ว่าจะสร้างโปรเจคขนาดใหญ่ที่คุณกำลังสนใจ หรือสร้างอะไรบางอย่างที่ใช้สุดขอบความเข้าใจในสิ่งที่คุณสนใจ แต่ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่คุณกำลังจะทำคือสิ่งที่ช่วย อัพเลเวล เพราะคุณได้เชื่อมความเข้าใจต่างๆเข้าด้วยกัน

2. มีส่วนร่วมกับโปรเจคสารธณะประโยชน์

อาจจะหมายถึง การที่คุณสร้างโปรเจคด้วยตัวคุณเองหรือมีส่วนช่วยในการพัฒนาโปรเจคที่มีอยู่ก่อนแล้ว

สร้างแพคเกจ

ถ้าหากต้องการสร้างแพคเกจเป็นของตัวเองต้องมั่นใจว่าแพคเกจนั้นไม่ได้เอามาจากแบบฝึกที่ไหนและเป็นสิ่งที่คุณต้องการให้คนอื่นได้ใช้งานจริงๆ

บันทึกขั้นตอนการทำงาน

ของแถมเพิ่มเติมถ้าเกิดว่าคุณต้องการที่จะเขียนบล๊อกหรือทำวีดีโอเกี่ยวกับว่าคุณทำมันเพื่ออะไรและทำมันได้อย่างไร ผ่านขั้นตอนต่างๆที่คุณทำ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้คุณต้องคิดวิธีการเล่าเรื่องแต่จะเป็นสิ่งบันทึกความสามารถของคุณได้อีกต่างหาก เพื่อไว้ว่าจะมีใครอีกหลายคนที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่คุณรู้

จากโปรเจคคนอื่น

คุณอาจจะชอบ node , PHP , Python , Java หรือปลั๊กอินจาก Github นี้จะเป็นโอกาสดีที่จะได้เจอ issue บางอย่างบน Github

ลองดูใน repository contributors guidelines ซึ่งปรกติมักจะในโฟลเดอร์ root ของโปรเจค เริ่มทำความเข้าใจต่อโปรเจค และเริ่มแก้ issue ให้ดีขึ้น และอาจจะเพิ่มฟังก์ชั่นบางอย่างเข้าไปที่คิดว่าเป็นประโยชน์

สิ่งที่เราทำไปนั้นมีวัตถุประสงค์

  • เป็นหลักฐานได้ว่าเราสามารถเข้าใจ coding guidelines ( เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการทำงาน )
  • เป็นหลักฐานได้ว่าคุณได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม Open source และชื่อของคุณจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ contributor บน Github
  • คุณจะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง Forking , Pull request , commits และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • คุณได้เห็นว่าการซ่อมบำรุงโปรเจคจากชุมชนเป็นอย่างไรและเอามาปรับใช้ในการฝึกโปรแกรม

Top comments (0)